แผนส่งเสริม EV

เจาะลึกสรุปแผนส่งเสริม EVs แพ็คเกจใหม่ฉบับ 2 จาก BOI 


เมื่อไม่กี่วันก่อนนี้ บีโอไอได้เปิดรับการเสริมการลงทุนการผลิตยานพาหนะไฟฟ้า (อีวี) รอบใหม่ หลังจากหมดระยะเวลาการยื่นคำขอรับการส่งเสริมไปตั้งแต่ปี 2561 โดยในรอบนี้ จะมีการเปิดให้รับการส่งเสริมยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อ รถโดยสารและรถบรรทุก รวมถึงเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า จากเดิมที่มีการส่งเสริมเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าและรถโดยสารไฟฟ้า โดยทีมงาน TDR สรุปประเด็นสําคัญได้ดังนี้


1. กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) ที่มีการลงทุนไม่น้อยกว่า 5000 ล้านบาทจะสามารถผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV) ควบคู่กันได้ โดยจะต้องเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ภายในระยะเวลาที่กําหนดและต้องผลิตชิ้นส่วนสําคัญให้ได้อย่างน้อย 3 ชิ้นโดยจะได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี

2. กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) ที่มีการลงทุนน้อยกว่า 5000 ล้านบาท จะได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี

3. กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) จะได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดยต้องผลิตชิ้นส่วนสําคัญอย่างน้อย 3 ชิ้น

4. กิจการจะได้รับสิทธิ์เพิ่มขึ้นจากเดิม หากทําได้ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนด ได้แก่
- มีการเริ่มผลิตรถยนต์ภายในปี 2565
- มีการผลิตชิ้นส่วนสําคัญในประเทศ โดยได้เพิ่มขึ้นตามจํานวนชิ้น
- มีการผลิตจริงมากกว่า 10000 คันต่อปี

5. กิจการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ จะได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดยจะได้รับสิทธิ์เพิ่มขึ้น หากมีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าจากขั้นตอนผลิต Module และชิ้นส่วนอื่นอย่าง Traction motor

6. กิจการผลิตรถเมล์และรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ จะได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดยจะได้รับสิทธิ์เพิ่มขึ้น หากมีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าจากขั้นตอนผลิต Module และชิ้นส่วนอื่นอย่าง Traction motor

7. กิจการผลิตหรือซ่อมเรือพลังงานไฟฟ้าจะได้รับสิทธืประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี

8. มีการปรับปรุงขอบข่าย และเพิ่มรายการชิ้นส่วนสําคัญอีก 4 ชิ้น จาก 13 ชิ้นในแผนเดิม ได้แก่
- High voltage harness
- Reduction gear
- Battery cooling system
- Regenerative braking system

เพิ่มขึ้นจาก 13 ชิ้นส่วนเดิม ได้แก่

- Battery
- Traction Motor
- ระบบปรับอากาศด้วยไฟฟ้าหรือชิ้นส่วน
- ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS)
- ระบบควบคุมการขับขี่ (DCU)
- On-Board Charger
- สายชาร์จแบตเตอรี่พร้อมเต้ารับ-เต้าเสียบ
- DC/DC Converter
- Inverter
- อุปกรณ์ชาร์จแบตเตอรี่แบบพกพา
- Electric Circuit Breaker
- ระบบอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ
- คานหน้า/คานหลังสำหรับรถโดยสารไฟฟ้า

9. ผู้ผลิตจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมในลดหย่อนภาษีการนําเข้าวัตถุดิบที่ไม่มีการผลิตในประเทศในอัตราร้อยละ 90 เป็นระยะเวลา 2 ปีในกรณีที่มีการผลิต Cell หรือ Module แบตเตอรี่

10. ผู้ผลิตจะต้องเสนอแผนงานเป็นแพ็คเกจ ต้งแต่ขั้นตอนการนําเข้าและติดตั้งเครื่องจักร แผนการผลิตในระยะเริ่มต้น และแผนการจัดหาวัติถุดิบจากประเทศไทย ที่มีคนไทยถือหุ้นข้างมาก

การที่บีโอไอเปิดแผนงานส่งเสริมฉบับที่ 2 นั้น มีจุดประสงค์ 2 ข้อใหญ่ๆ

1. ปรับปรุงข้อกําหนดให้ตอบรับกับข้อเรียกร้องของผู้ผลิตรถยนต์รายเดิม เช่นปัญหาการผลิตเซลแบตเตอรี่ เนื่องจากประเทศไทยไม่มีวัตถุดิบหรือดีมานด์ที่มากพอในการตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ จึงอนุญาตให้ลดหย่อนภาษีนําเข้าเพื่อแก้ปัญหาในจุดนี้

2. รองรับผู้ผลิตใหม่ ที่ข้อกําหนดฉบับแรกครอบคลุมไม่ชัดเจน หรือขอรับการส่งเสริมไม่ทันเวลา โดยผู้ที่ได้รับประโยชน์ที่สุดจากแผนฉบับนี้ คือเกรทวอลมอเตอร์ ที่ตั้งใจจะใช้สิทธิประโยชน์เพื่อผลิตรถยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มผู้ผลิตจักรยานยนต์ ที่แสดงความสนใจในการผลิตจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเช่น ฮาร์ลีย์เดวิดสัน และบีเอ็มดับบลิว เป็นต้น







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เปิดสเปคและข้อมูล ORA Goodcat ยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกในไทยจาก GreatWall Motor

มจพ.ตั้ง NBSpace จับมือเดนมาร์ก สร้างฐานอุตสาหกรรมดาวเทียมไทยป้อนตลาดโลก

บริษัท SSC บริษัทอวกาศระดับโลก เปิดตัว SSC Space Thailand ในประเทศไทย