บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2020

บริษัทพัฒนาสตาร์ทอัพสัญชาติอเมริกาในซิลิคอน วัลเลย์ ‘Plug and Play’ ออกโปรแกรมพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ (agtech) ในไทย สร้าง ‘farm to table’ ecosystem

รูปภาพ
บริษัทพัฒนาสตาร์ทอัพสัญชาติอเมริกาในซิลิคอน วัลเลย์ ‘Plug and Play’ ออกโปรแกรมพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ (agtech) ในไทย สร้าง ‘farm to table’ ecosystem เชื่อมสตาร์ทอัพกับนักลงทุน บริษัท Plug and Play Asia Pacific ประกาศว่าจะเริ่มโปรแกรมพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารและเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ (agtech) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก ในวันที่ 29 กรกฎาคม ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมสตาร์ทอัพด้านห่วงโซ่อุปทานอาหาร ตามที่บริษัทแถลง “พวกเรามีความยินดีที่จะนำเอานวัตกรรมใหม่ๆมาใช้กับอุตสาหกรรมอาหารและเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ (agtech) หลังโปรแกรม Smart Cities ของเราประสบความสำเร็จ เราวางแผนที่จะค้นหาและร่วมงานกับสตาร์ทอัพชั้นนำด้านนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจไปเป็นรูปแบบดิจิทัลและเปิดโอกาสใหม่ๆสำหรับการลงทุนในภูมิภาค ASEAN” - รองประธานกรรมการบริหาร Plug and Play - Shawn Dehpanah กล่าว โดยโครงการนี้จะเชื่อมบริษัทชั้นนำ ภาครัฐและนักลงทุนเข้าด้วยกันผ่าน Plug and Play Ecosystem ซี่งมีโอกาสที่จะสร้างประโยชน์ให้กับสตาร์ทอัพมากถึงสองหมื่นแห่งทำให้สตาร์ทอัพเหล่านี้มีเทคโนโลย

TOT ร่วมมือ MuSpace ,Startup ด้านอวกาศของไทย เตรียมเข้าสู่ธุรกิจดาวเทียม

รูปภาพ
TOT ร่วมมือ MuSpace ,Startup ด้านอวกาศของไทย เตรียมเข้าสู่ธุรกิจดาวเทียม บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน )(TOT) ลงนามความร่วมมือกับ MuSpace บริษัท Startup ด้านเทคโนโลยีอวกาศรายแรกของไทย ในการความร่วมกันพัฒนาธุรกิจดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO : Low Earth Orbit) โดยทาง TOT มองว่าธุรกิจดาวเทียมวงโคจรต่ำระดับ นั้นจะเป็นธุรกิจที่มีประสิทธิภาพอย่างมากในอนาคต โดยเฉพาะการให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียมความเร็วสูง ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในอนาคตอันใกล้นี้ การลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง TOT และ MuSpace นั้นเกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งภายใต้ความร่วมมือกันของทั้งสององค์กร จะเป็นการร่วมมือกันเพื่อพัฒนาโค้ด สำหรับเซิฟเวอร์ที่จะปล่อยขึ้นไปกับจรวดปล่อยดาวเทียม โดยจะมีการทดลองรับ-ส่งสัญญาณระหว่างดาวเทียม และสถานีภาคพื้น ทาง TOT ได้มีการตั้งทีมที่มีบุคลากรกว่าราวๆ 60 ชีวิตในการร่วมพัฒนาดาวเทียมวงโคจรต่ำในช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยมีส่วนหลักเป็นนักเรียนระดับมัธยมของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยเอง ซึ่งจะอยู่ภายใต้การดูแลของ TOT Academy เป้าหมายหลักในการพัฒนาร่วมกันระหว่างทั้งสององค์กรในระย

“ต้อนรับรถไฟฟ้า APM” INTERLINK ผนึก SIEMENS ส่งรถไฟฟ้าไร้คนขับ APM ขบวนแรกสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

รูปภาพ
“ต้อนรับรถไฟฟ้า APM” INTERLINK ผนึก SIEMENS ส่งรถไฟฟ้าไร้คนขับ APM ขบวนแรกสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ      คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ต้อนรับรถไฟฟ้าไร้คนขับ (Automated People Mover : APM) ขบวนแรกสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมี คุณเอนก ธีระวิวัฒน์ชัย รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) : AOT และหน่วยงานเกี่ยวข้อง ร่วมต้อนรับเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ      คุณสมบัติ อนันตรัมพร เปิดเผยว่า หลังจากที่ ILINK ได้ชนะการประกวดราคาจัดหารถไฟฟ้าไร้คนขับ APM ใน “โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2” ในงานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover : APM) มูลค่า 2,100 ล้านบาท ภายใต้ความร่วมมือของบริษัท ซีเมนส์ โมบิลิตี้ จำกัด ในการจัดหาระบบรถไฟฟ้ารุ่น Airval สำหรับใช้เชื่อมต่อขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลักกับอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 : SAT-1) โดยขบวนแรกถูกจัดส่งมาถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 ที

"ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี" รวมพลังหนุนทุกนวัตกรรมการแพทย์ และ การวิจัยในมนุษย์

รูปภาพ
"ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี" รวมพลังหนุนทุกนวัตกรรมการแพทย์ และ การวิจัยในมนุษย์     จากถนนโยธี ราชวิถี พญาไท พระรามหก และศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ที่มีขีดความสามารถในการให้บริการสุขภาพ เนื่องจากมีโรงพยาบาล สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 20 แห่ง จากศักยภาพดังกล่าว นำมาซึ่งการมารวมพลังทางสังคมและปัญญาเพื่อการพัฒนา "ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี” ศูนย์รวมนวัตกรรมการแพทย์ วิจัย สร้างผลิตภัณฑ์เชิงมูลค่า และเป็นพื้นที่นวัตกรรมต้นแบบในอนาคต ความร่วมมือภายใต้การทำงานร่วมกันของย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาเทคโนโลยีชุด Portable Chest x-ray : CXR วิเคราะห์ภาพเอ็กซเรย์ทรวงอก ในการตรวจคัดกรอง โรคปอดอักเสบจากโควิด-19 ลดภาระหน่วยงานและบุคลากรทางการแพทย์, การทำงานร่วมกับ รพ. ในกทม. รวมเตียงเพื่อเตรียมพร้อมในช่วงโควิด-19 หรือ สนับสนุนการพัฒนาแอปฯ “Pharmasafe” ช่วยให้ผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs หายเร็วขึ้น เป็นต้น ถือเป็นการยกระดับสาธารณสุขและคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น ล่าสุด นำมาซึ่ง การลงนามบันทึกความร่วมมือคณะกรรมการร่วมพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สหสถาบันย่านนวัตกร