จุดจบรถครีมแดง เปิดตัวเต็งประมูล EV Bus ขสมก.

จุดจบรถครีมแดง เปิดตัวเต็งประมูล EV Bus ขสมก.


ต้นเหตุหนึ่งของฝุ่น Pm 2.5 ในกรุงเทพเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาคงไม่พ้นรถโดยสารครีมแดงอายุเกือบ 30 ปี ที่ยังคงให้บริการอยู่นับพันคันทั่วกรุงเทพมหานคร แต่อย่าเพิ่งหมดหวังไป ในอนาคตในไม่กี่ปีนี้ เราคงจะมีโอกาสได้เห็นรถโดยสารไฟฟ้าวิ่งฉิวทั่วกรุง (ในกรณีที่แผนปฏิรูป ขสมก. เป็นไปอย่างราบรื่น) แต่ไม่ว่าผลลัพธิ์จะออกมาเป็นอย่างไร ณ ปัจจุบันนี้ เราก็พอคาดเดาได้ว่าบริษัทใดจะนํารถโดยสารมาร่วมประมูล


สําหรับรูปแบบการประมูลคครั้งนี้ จะแตกต่างจากการจัดซื้อรถโดยสาร NGV 489 คันรอบก่อน ที่เป็นการจัดซื้อโดย ขสมก. โดยมี ขสมก. เป็นผู้บริหารเดินรถด้วยตนเอง โดยในครั้งนี้จะเป็นจัดหารถโดยสาร ในรูปแบบการจ้างเอกชนเดินรถ โดยมี ขสมก. จ่ายค่าเช่าตามระยะทาง เอกชนต้องรับภาระค่าเชื้อเพลิง ค่าซ่อมบำรุงทั้งหมด โดยเลือกรายที่เสนอค่าจ้างวิ่งต่ำสุด โดยมีต้นทุนค่าจ้างวิ่งประมาณ 4,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งนับว่าถูกกว่าต้นทุนเดินรถโดยสารของ ขสมก.

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพจึงมีความประสงค์จะเช่ารถโดยสารไฟฟ้า 2,511 คัน พร้อมสถานีอัดประจุไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 7 ปี ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นรถโดยสารที่ประกอบในประเทศไทย ที่มีมูลค่าของวัสดุอุปกรณ์ที่ผลิตภายในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าของวัสดุอุปกรณ์ที่ผลิตได้ภายในประเทศทั้งหมด

รายละเอียด TOR สําหรับเอกชนที่จะเข้าร่วมประมูล
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2000178596791088&id=1233859410089681

ดังนั้น TDR จึงลิสต์รายชื่อกลุ่มทุนที่มีความสามารถและมีความสนใจในการผลิต/ให้บริการรถโดยสารเพื่อป้อนให้กับผู้เข้าร่วมประมูลในครั้งนี้

1. บจก.พลังงานบริสุทธิ์ - MINE bus ตลาดรถโดยสารไฟฟ้านับเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของพลังงานบริสุทธิ์มาในระยะเวลาหนึ่ง เห็นได้จากการเข้าซื้อหุ้นของบริษัท NEX point ที่ปัจจุบันได้สิทธิ์ในการรับซ่อมบํารุงรถโดยสาร NGV จํานวนกว่า 500 คัน รวมไปถึงการสร้างโรงงานประกอบรถโดยสารที่จังหวัดฉะเชิงเทราภายใต้ บริษัท Absolute assembly และมีบริษัทระบบขนส่งสาธารณะ EV smart transport อยู่ในเครือ สําหรับจุดเด่นของรถโดยสาร Minebus นั่นก็คือแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ผลิตภายในประเทศไทยและพันธมิตรที่เชี่ยวชาญด้านบริการ/ซ่อมบํารุงรถโดยสารสาธารณะ

2. โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง - SakunC แม้ว่าปัจจุบันสกุลฎ์ซียังไม่เปิดตัวรถโดยสารไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นเองตั้งแต่ต้น แต่จากผลงานการ retrofit รถโดยสารยูโรเบนซ์ ขสมก. เป็นรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าตัวถังอะลูมิเนียมทั้งคันที่มีรูปร่างและประสิทธิภาพที่น่าประทับใจ ทําให้เราคาดการณ์ได้ว่า สกุลฎ์ซีก็กําลังชิงเค้กตลาดนี้อยู่เช่นกัน จุดเด่นของสกุลฎ์ซีที่พบเห็นได้ชัดทีสุด คือการใช้ชิ้นส่วนในประเทศและการร่วมมือกับพันธมิตรไทยแท้ๆอย่าง AMR asia , บ้านปู ทําให้เราพูดได้เต็มปากว่า สกุลฎ์ซีเป็นรถเมล์ไฟฟ้าไทย 100% อย่างแท้จริง

3. EVT บริษัทรถไฟฟ้าไทยเป็นอีกหนึ่งผู้เล่นที่หลายคนมองข้าม แต่รู้หรือไม่ว่า EVT มีประสบการณ์บริการเดินรถและซ่อมบํารุงรถโดยสารไฟฟ้าในประเทศไทยมานานกว่า 10 ปี สําหรับสิ่งที่ EVT ต้องก้าวข้ามไปให้ได้เพื่อที่จะชนะประมูลในครั้งนี้ ก็คือการจัดหารถโดยสารไฟฟ้าที่มีชิ้นส่วนในประเทศสูงกว่า 50% จากเดิม 40% ในปัจจุบันที่เป็นการจัดหาชิ้นส่วนจากผู้ผลิตจีน

4. BYD ผู้ผลิตรถโดยสารไฟฟ้าทีใหญ่และล้ำสมัยที่สุดในโลก โดยเราสามารถคาดเดาได้ว่า เมื่อมีตลาดรถโดยสารไฟฟ้ากว่า 2500 คันรออยู่ BYD จึงใฟ้ความสนใจแน่นอน จุดเด่นของ BYD ที่ชัดเจนที่สุดก็ไม่พ้นต้นทุนต่อหน่วยและคุณภาพที่ผู้เล่นท้องถิ่นยากที่จะสู้ได้ แต่ถึงกระนั้น หาก BYD ต้องการที่จะเข้าร่วมประมูล ก็ต้องจับมือกับอู่ต่อตัวถังรถโดยสารในไทยเสียก่อน เพื่อที่จะผลิตรถโดยสารที่มีชิ้นส่วนไทยไม่ต่ำกว่า 50% จึงจะผ่านเกณฑ์ได้ ( ทั้งนี้ BYD เป็นผู้ผลิตรถโดยสาร จึงต้องหาผู้เดินรถที่สนใจจัดหารถ BYD มาให้บริการเสียก่อน )

เขียน และเรียบเรียงโดย : Thailand Development Report
[เนื้อหา การเขียน และเรียบเรียงถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของเพจ Thailand Development Report ไม่อนญาตให้ทำการคัดลอก หรือเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต]

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เปิดสเปคและข้อมูล ORA Goodcat ยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกในไทยจาก GreatWall Motor

มจพ.ตั้ง NBSpace จับมือเดนมาร์ก สร้างฐานอุตสาหกรรมดาวเทียมไทยป้อนตลาดโลก